การตั้งกฏ เหมาะสำหรับเด็กทุกวัย กับพวกเราเองก็ยังเลือกที่จะทำตามกฏหลายต่อหลายอย่าง เช่น การเข้าคิว ถ้าเรามีประตู 3 ประตู ประตู 1ต้องเข้าคิวรอสิ่งที่เรารู้ว่าเป็นสิ่งที่ต้องการ ประตู 2 ต้องเข้าคิวรอสิ่งที่เราไม่รู้ว่าคืออะไร และ ประตู 3 ไม่ต้องเข้าคิว ซึ่งแน่นอนคนทุกคนก็ต้องเลือก ประตู 1 หรือไม่ก็ประตู 3 สำหรับเด็กก็เหมือนกัน เขาจะทำตามกฏก็ต่อเมื่อเขารู้แน่นอนว่าสิ่งที่เขาจะได้จากการทำตามกฏนั้นคืออะไร หรือไม่ก็เลือกที่จะไม่ทำตามกฏเสียเลย เพราะฉะนั้น มันจำเป็นมากที่จะต้องให้กฏมาเป็นส่วนช่วย
การตั้งกฏต้องเป็นกฏที่มีเหตุมีผลที่เป็นไปได้ ตรงส่วนนี้อยากให้พิจราณาจากความสามารถของเด็ก เช่น ตั้งกฏเวลากินข้าวให้นั่งนิ่งๆไม่กระโดดไปมาหรือลุกจากเก้าอี้ ความสามารถของเด็กก็ต้องสามารถนั่งนิ่งๆได้นานประมาณ 30นาทีขึ้นไป ผู้สอนสามารถตั้งกฏให้เกินความสามารถของเด็กได้นิดหน่อย เช่น ถ้าเขาจะใช้เวลากินข้าวประมาณ 45นาที แต่ความสามารถของเขานั่งนิ่งๆได้แค่ 30นาที
ตัวอย่างกฏที่อาจจะตั้ง
- ห้ามวิ่งเล่นในห้าง
- จับมือแม่เวลาเดินในตลาด
- ไม่โบกมือไปมาตอนกินข้าว
- เก็บของเล่นเมื่อเล่นเสร็จ
- อ่านหนังสือหลังทำการบ้าน
- ลองกินของใหม่ๆ
- กินผักผลไม้ที่ให้
เป็นต้น
ของรางวัล เป็นสิ่งที่ทำให้เด็กพยายามทำตามกฏ เด็กแต่ละคนมีความชอบที่แตกต่างกัน ส่วนมากที่ฉันใช้ได้ผลเกือบทุกครั้งคือ ของกิน เช่น ไอศครีม หรือ คุกกี้ แต่ก็มีหลายครั้งที่ฉันใช้ของเล่นเฉพาะหน้าที่เขาเลือกเอง เช่น ถ้าเขาหยิบรถของเล่นขึ้นมาในจังหวะที่เขากำลังกินข้าว ฉันก็จะหยิบรถคันนั้นออกจากมือเขาทันที แล้วตั้งกฏ "ถ้าหนูนั่งกินข้าวนิ่งๆไม่ขยับออกจากเก้าอี้ หนูจะได้รถคันนี้" แล้วเอารถตั้งไว้ในที่เขาสามารถเห็นแต่ไม่สามารถหยิบได้ **ถ้าเขางอแง ไม่ยอมทำตาม ผู้สอนไม่ควรให้ของรางวัลเด็ดขาด เป็กกฏที่สำคัญจากวิธีจำกัดกับพฤติกรรม
ถ้าการตั้งกฏและการให้รางวัลยังไม่ได้ผล ผู้สอนสามารถใช้วิธีการทำโทษมาใช้ร่วมด้วย เพื่อให้เด็กเห็นชัดเจนในผลกระทำที่เขาจะทำ การทำโทษในที่นี้ไม่ได้หมายถึงการตีหรือการทำร้ายร่างกาย แต่อยากให้เป็นการทำโทษในรูปแบบอื่นที่เขาไม่ชอบหรือไม่ชอบเป็นที่สุด เช่น เด็กส่วนมากไม่ชอบที่จะอยู่เฉยๆ หรืออยู่คนเดียว อาจจะให้เขานั่งเฉยๆหันหน้าเข้าหากำแพง,ให้เขาเข้าไปอยู่ในห้องคนเดียว จับเวลาไว้ที่ประมาณ 20วินาที(สำหรับครั้งแรกๆ ถ้ายังไม่ทำตามกฏอาจจะเพิ่มเวลา) การงดของชอบก็เป็นวิธีที่เข้าใจง่าย เช่น งดขนม, งดทีวี, หรืองดของเล่น
**ก่อนที่จะให้รางวัลหรือลงโทษ ผู้สอนควรบอกให้เด็กรู้ว่า เขาได้รางวัลหรือโดนทำโทษเพราะอะไร เช่น ไอศครีมอันนี้สำหรับเด็กเรียบร้อยไม่วิ่งเล่นในห้าง หรือ ไม่ได้ดูการ์ตูนเพราะหนูไม่กินผัก เป็นต้น
**ก่อนที่จะใช้กฏนอกบ้าน ให้ฝึกฝนในบ้านให้บ่อยครั้งก่อน ให้มั่นใจว่าเขาเข้าใจในกฏ ของรางวัล และการลงโทษ เสียก่อน
วิธีรักษาโรคออทิสซึ่ม
ของเล่นสำหรับเด็กออทิสติก
กดชอบที่ Facebook เพื่อข้อมูลเพิ่มเติมและ ABA รายสัปดาห์
ความเป็นมาของผู้เขียน
No comments :
Post a Comment