Wednesday, May 20, 2015

วิธีจัดการกับพฤติกรรม (Guidelines to Developing Behavior Management Strategies)

พฤติกรรมของลูกเป็นสิ่งที่อธิบายยากมาก ในสถานการ์ณหนึ่งเด็กแต่ละคนก็มีพฤติกรรมแตกต่างกันไป ถ้าเขาทำสิ่งที่เราไม่ต้องการให้ทำ เราก็บอกเขา แล้วเขาก็ทำตามที่เราพูด แต่ถ้าไม่ทำตามที่เราพูด มันก็จะกลายเป็นภาพที่ไม่น่าดู บางทีก็ร้องไห้ กรีด ขว้างของ หรือโขกหัว บางคนก็บอกให้ฉันตี เด็กมันจะได้จำ บางคนก็บอกให้รางวัลเวลาเขาทำดี เขาจะได้เลือกที่จะทำดี หลายต่อหลายอย่าง ไม่รู้จะเลือกทำอะไร กลัวว่าทำไปแล้วผลลัพธ์ที่ออกมาจะเป็นสิ่งที่ไม่ดี วันนี้ฉันเลยอยากแนะนำวิธีการแก้ไขพฤติกรรมตามแบบฉบับของ ABA (Applied Behavior Analysis) ฉันใช้วิธีนี้เป็นเวลา 1ปีเต็ม พฤติกรรมที่กล่าวมาข้างต้นหายไปอย่างไม่รู้ตัว รู้ตัวอีกทีก็ตอนหารูปลูกมาลงเวปแล้วไปเจอข้อมูลที่ตัวเองพิมพ์ไว้

ขั้นตอนที่ 1. เขียนพฤติกรรม
  • ระบุพฤติกรรมที่ต้องการปรับปรุง
  • อธิบายพฤติกรรมให้ละเอียดในรูปแบบของการสำรวจ ตัวอย่างเช่น ระบุพฤติกรรมการโมโห อาจจะเขียนว่า "โมโห ประกอบด้วยอาการ กรีด โขกหัว ร้องไห้ หรือกลั้นหายใจ"
ขั้นตอนที่ 2. สะสมข้อมูล (ทุกพฤติกรรมที่เด็กทำมีเป้าหมาย)
  • สังเกตุการ์ณพฤติกรรมและอธิบายเหตุผลของการกระทำว่าทำไมเด็กถึงทำเช่นนี้
  • จดบันทึกเหตุการ์ณของก่อนพฤติกรรม (อะไรเกิดก่อนพฤติกรรมนี้) พฤติกรรม (สังเกตุการกระทำในพฤติกรรม) และเหตุการ์ณลงท้าย (อะไรเกิดขึ้นหลังจากพฤติกรรม)

    ความน่าจะเป็น มี:
    หลีกเลี่ยง หรือ หนี เช่น จากการทำงาน, จากสถานการ์ณ, หรือจากการกระทำ
    เรียกร้องความสนใจ
    เรียกร้องสิ่งของ เช่น ของกิน, ของเล่น, หรือเล่นเกม
    ความต้องการทางระบบประสาท


หลังจากสะสมข้อมูลข้างต้นเสร้จ ฉันก็มาดูว่าพฤติกรรมนี้เกิดขึ้นบ่อยแค่ไหนโดยการเก็บข้อมูลที่มี 3รูปแบบ รูปแบบ 1. บันทึกความบ่อยครั้ง บันทึกความบ่อยครั้งของพฤติกรรมในช่วงเวลาที่กำหนด วิธีนี้เหมาะสำหรับพฤติกรรมที่มีความแน่นอน เช่น โยนของ ทุบตีสิ่งของ
แบบฟอร์มรูปแบบ 1


        รูปแบบ 2. บันทึกเป็นช่วงเวลา บันทึกความนานของเวลาที่พฤติกรรมนั้นเกิดขึ้น ใช้นาฬิกาจับเวลาเริ่มจับเวลาตั้งแต่พฤติกรรมเริ่มต้นจนจบ วิธีนี้เหมาะสำหรับพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่งๆ เช่น เหม่อลอย
แบบฟอร์มรูปแบบ 2


        รูปแบบ 3. บันทึกช่วงเวลาของพฤติกรรมที่คาดว่าจะเกิดขึ้น บันทึก ใช่/ไม่ ถ้าพฤติกรรมนั้นเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่คาดการ์ณไว้ วิธีนี้เหมาะสำหรับพฤติกรรมที่เกิดขึ้นรุนแรงในช่วงเวลาหนึ่ง เช่น โบกมือไปมา
แบบฟอร์มรูปแบบ 3

เมื่อฉันรู้พฤติกรรมของลูกและความต้องการของพฤติกรรม ฉันก็สามารถหาวิธีมาช่วยให้พฤติกรรมนั้นๆหายไปได้

ขั้นตอนที่ 3. กำหนดวิธีจัดการกับพฤติกรรม
วิธีก่อนพฤติกรรม เป็นการควบคุมสถานการ์ณก่อนที่พฤติกรรมเกิดขึ้น สำหรับปกป้องพฤติกรรมที่จะเกิดขึ้น
วิธีการแก้ไขพฤติกรรมในระยะสั้น โดยใช้พฤติกรรมหรือความสามารถมาแทนที่ และสามารถทดแทนพฤติกรรมที่ท้าทายกลับให้เป็นพฤติกรรมที่เหมาะสม
พฤติกรรมที่แทนทีต้องเป็นสิ่งที่ไม่เกินความสามารถของผู้เรียน ตัวอย่าง



วิธีการแก้ไขพฤติกรรมในระยะยาว โดยใช้ความพอใจหรือการปรับตัวของพฤติกรรม เช่น อะไรที่ผู้เรียนควรจะทำแทนที่จะเผชิญหน้ากับพฤติกรรมที่เป็นปัญหา


จัดสถานการ์ณที่คิดว่าพฤติกรรมที่ท้าทายนั้นอาจจะเกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น รู้ว่าผู้เรียนจะร้องโวยวายเมื่อบอกให้หยุดเล่นคอมพิวเตอร์ ฉันก็ให้เขาเล่นคอมพิวเตอร์แล้วบอกให้เขาหยุด ทันทีที่บอกให้เขาหยุด ฉันก็บอกให้เขาทำกิจกรรมถัดไป หรือให้เขาเล่นเพิ่ม 5นาที แล้วอาจจะใช้คอมพิวเตอร์เป็นของรางวัลในกิจกรรมอื่น 

ถ้าเป็นไปได้ก่อนที่จะจัดสถานการ์ณนั้น ควรจะทราบเสียก่อนว่า พฤติกรรมที่ท้าทายนั้นเกิดขึ้นเพื่ออะไร เช่น ร้องโวยวาย เกิดขึ้นเพื่อ เรียกร้องความสนใจ และต้องการเล่นคอมพิวเตอร์ต่อ ฉะนั้นถ้าพฤติกรรมที่ท้าทายนั้นเกิดขึ้นสิ่งที่เราต้องควรทำคือ ไม่สนใจ(เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น) และไม่ให้เขาเล่นคอมพิวเตอร์ เพราะถ้าให้ในสิ่งที่เขาต้องการในครั้งที่พฤติกรรมที่ท้าทายนั้นเกิดขึ้น ทุกครั้งที่เขาต้องการอะไรแล้วไม่ได้ พฤติกรรมที่ท้าทายนั้นๆก็จะเกิดขึ้น 

วิธีรักษาโรคออทิสซึ่ม
ของเล่นสำหรับเด็กออทิสติก
กดชอบที่ Facebook เพื่อข้อมูลเพิ่มเติมและ ABA รายสัปดาห์





No comments :

Post a Comment