Wednesday, July 27, 2016

การใช้เวลากับเด็กที่ถูกวิธี Pairing ใช้วิธีABA(Applied Behavior Analysis)

ต้องขอขอบคุณทุกๆคำถามคะ ทำให้คิดได้ว่าลืมอะไรที่สำคัญมากไปอย่างหนึ่ง เป็นวิธีที่จำเป็นต้องทำ ทำจนลืมไปแล้วคะว่ามันเป็นส่วนหนึ่งของการบำบัด
"ทำไมลูกไม่อยากเล่นกับคุณแม่คะ" "ทำไมบอกให้เขานั่งแล้วเขาเดินหนี" "เขาทำเหมือนไม่ได้ยินคุณแม่เรียกคะ" เรามาลองคิดกันอย่างนี้นะคะ ทุกคนคงเคยทำงานที่ไม่อยากทำ ทำทีไรหัวหน้าหรือครูก็จะคอยติ ติไม่พอให้เรากลับมาทำใหม่อีก ส่งกลับไปก็ยังติว่าอีกครั้ง พอครั้งต่อไปถ้าเรารู้อีกว่าต้องทำงานนี้อีกเจอกับหัวหน้าหรือครูคนเดิมอีก แน่นอนคะว่าพวกเราต้องหาทางหลีกเลี่ยง บางคนถึงกับลาออกจากงาน ยังงัยก็ไม่อยากทำ รู้ว่าทำแล้วต้องเป็นเหมือนเดิม
แล้วถ้าเด็กเป็นตัวเราละคะ แล้วเราเองเป็นหัวหน้าหรือครูของเด็ก เราควรจะทำอย่างไรให้เขาอยากมาทำงานร่วมกับเรา
วิธีนี้ทาง ABA เรียกว่า Pairing มันคือ การใช้เวลาเล่นสนุกกับเด็ก ทำให้เพิ่มความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
กฎข้อห้าม
1. ห้ามบังคับ พยายามไม่พูดคำว่า "ไม่" "หยุด" และน้ำเสียงที่แข็ง
2. ห้ามสั่ง ให้เด็กเป็นคนนำ (แต่หลังจากวิธีนี้จะสามารถนำคำสั่งเข้ามาใช้ร่วม)
3. ห้ามถาม เพราะเด็กอาจจะงง ไม่รู้คำตอบ เขาจะรู้สึกได้ว่าผู้สอนไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่เขาทำ
กฎที่ควรทำ
1. คำชม ผู้สอนควรชมเด็กทุก 5วินาที
2. สะท้อนคำพูด ถ้าเด็กพูดอะไรก็พยายามพูดตาม
3. ทำตาม ผู้สอนพยายามทำตามท่าทางของเด็ก(ถ้ามีโอกาส)
4. อธิบาย ผู้สอนควรอธิบายสิ่งที่ต่างๆที่เกิดขึ้น
5. สนุกสนาน ผู้สอนควรมีท่าทีที่สนุกสนานกับเวลาที่อยู่กับเด็ก

วิธีทำ
ก่อนจะเริ่มผู้สอนต้องรู้ก่อนว่า เด็กชอบเล่นของเล่นและชอบกินอะไรบ้าง (ควรหลีกเลี่ยงของเล่นที่ผู้สอนไม่สามารถมีส่วนร่วมในการเล่นได้ เช่น ไอแพค เกมคอมพิวเตอร์ อ่านหนังสือเอง)
1. เตรียมของเล่น2-3อย่างหรือมากกว่านั้น เตรียมขนม1อย่าง
2. เล่นกับเด็กด้วยน้ำเสียงที่ร่าเริง อาจจะจั๊กจี้เด็ก อุ่มเด็กแล้วเวี่ยงนิดๆ หรือเล่นจ๊ะเอ๋ สำหรับเด็กโตอาจจะ ทักทาย ชมเขา แล้วไกด์เด็กให้มาในจุดที่มีของเล่น (ห้ามผลัก ห้ามดึง ห้ามสั่ง) สามารถใช้ขนมเข้ามาเป็นตัวช่วย โดยการให้ขนมเขาเปล่าๆ(ให้ฟรีไม่ต้องมีสิ่งแลกเปลี่ยน)
- ไกด์ อาจจะทำได้โดยตอนเล่นกับเด็กค่อยๆเดินถอยหลังไปที่จุดที่เราต้องการ หรือให้ขนม1ชิ้นแล้วเดินถือชามขนมไปวางในจุดที่เราต้องการ
3. เล่นของเล่นที่เตรียมไว้กับเด็ก เช่น เล่นต่อจิ๊กซอ ผู้สอนควรเก็บตัวจิ๊กซอไว้กับตัวเอง แล้วยื่นให้เด็กทีละชิ้น (เพื่อให้เด็กรับรู้ถึงการมีส่วนร่วมระหว่างผู้สอนและตัวเด็ก)
****ขณะเล่นอย่าลืม กฎที่ควรทำ
- ถ้าเด็กไม่สนใจของเล่นชิ้นที่นำเสนอ เปลี่ยนของเล่นทันที เปลี่ยนของเล่นไปเรื่อยๆจนกว่าตัวเด็กจะสนใจที่จะเล่น ในที่นี้รวมถึงการเล่นวิ่งไล่จับ จั๊กจี้ หรือการเต้น
4. ทุกๆประมาณ30วินาที ให้ขนมเด็ก ให้ฟรีๆไม่ต้องมีอะไรแลกเปลี่ยน
ทำอย่างนี้ทุกวัน วันละอย่างน้อย10นาที เป็นเวลา2-3อาทิตย์ อาทิตย์ถัดไปเริ่มสอนบทเรียนได้ โดยการใช้วิธีนี้เข้าผสมด้วย เช่น ต้องการสอนให้นั่งนิ่งๆ ไกด์เด็กไปที่เก้าอี้หรือจุดที่ต้องการใช้สอน หรือใช้เวลาเล่นสนุกกับเด็กก่อน แล้วเริ่มสอน ใส่กฎที่ควรทำในการสอนด้วย และอาจจะให้ขนมเด็กทุกๆ30วินาทีหรือมากกว่านั้น

วิธีนี้ทำให้เด็กโอเคที่จะเรียนรู้และรับสิ่งใหม่ๆเข้าไปในตัวเขา อย่าว่าแต่เด็กเลยคะ กับตัวผู้ใหญ่เองก็ได้ผล เพียงแค่เปลี่ยนจากของเล่นที่ชอบเป็นงานที่ชอบ ขนมเป็นเงินเดือนหรือวันหยุด ผู้ใหญ่ทุกคนคงอยากไปทำงานทุกวันแน่ๆเลย
ถ้าไม่เข้าใจอะไร ลองถ่ายวิดีโอตอนเล่นกับเด็กด้วยวิธีนี้แล้วลองส่งมาให้ดูนะคะ จะได้ช่วยดูให้คะ





วิธีรักษาโรคออทิสซึ่ม
ของเล่นสำหรับเด็กออทิสติก
กดชอบที่ Facebook เพื่อข้อมูลเพิ่มเติมและ ABA รายสัปดาห์
ความเป็นมาของผู้เขียน



Thursday, May 5, 2016

วิธีสอนให้มองตามนิ้วที่คนอื่นชี้ ใช้วิธีABA(Applied Behavior Analysis)

ครั้งก่อนได้พูดถึงการสอนให้เด็กได้รู้จักการชี้นิ้วเพื่อเป็นการสื่อสารในสิ่งที่เขาต้องการหรือพูดถึง ในบทความนี้เลยอยากจะพูดถึงวิธีสอนให้เด็กมองตามนิ้วที่คนอื่นชี้ มันเป็นทักษะที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง เพราะไม่ว่าจะเป็นที่โรงเรียน ที่บ้าน หรือที่ไหนๆ การเห็นในสิ่งที่คนอื่นพยายามจะแสดงให้เห็นในสิ่งที่เขาพูดถึงนั้นทำให้เข้าใจในเรื่องของภาษาได้มากขึ้น

**ก่อนจะเริ่มบทเรียนนี้ เด็กต้องสามารถ
- มีสายตามองผู้คน
- รู้จักชื่อสิ่งของต่างๆ
- สามารถชี้นิ้วสิ่งต่างๆได้เอง

อุปกรณ์
1. ของเล่นหลายๆอย่างหลายๆขนาด
2. ห้องที่ว่างๆมีแต่ของเล่นที่เลือกมาแล้ว
3. รางวัล

วิธีสอน
1. ก่อนที่จะเริ่มให้วางของเล่นในที่แปลกๆ ในรูปแบบแปลกๆ เช่น วางตุ๊กตากลับหัวบนลูกบอลที่มุมห้อง, วางลูกบอลอยู่บนแก้วน้ำบนชั้นหนังสือ, วางรถคว่ำไว้กลางห้อง, วางงูของเล่นแขวนไว้ที่หน้าต่าง เป็นต้น
2. พาเด็กเข้ามาในห้อง (สิ่งแรกที่ควรจะชี้ควรจะเป็นสิ่งที่อยู่ด้านข้างของเด็ก) ชี้นิ้วให้ผ่านสายตาของเขาไปที่ของที่ต้องการให้เขามอง(**ต้องขอโทษ ณ ที่นี้คะ พยายามหาวิดีโอให้ดูแต่หาไม่เจอ แต่จะพยายามอธิบายให้ละเอียดที่สุดเพราะเป็นส่วนที่สำคัญ แต่ถ้าไม่เข้าใจตรงไหนสอบถามกันเข้ามาได้เลยคะ)
- ถ้าเขาไม่มองตาม ให้โชว์นิ้วชี้ข้างหน้าของเขาให้เขามอง แล้วค่อยๆชี้ไปที่สิ่งนั้น
3. พูดถึงสิ่งของด้วยท่าทีที่ตื่นเต้น สนุกสนาน เช่น "โห! ดูสิกระต่ายกลับหัวกลับหาง" "อ้าว! ไมรถมันคว่ำละ ตลกจังเลย" "อุ๊ย! งูมันขึ้นไปได้งัยเนี่ย"
4. เมื่อเห็นเขามองตามให้ให้รางวัลทันที

ฝึกบ่อยๆแล้วค่อยๆให้ระยะทางที่ไกลขึ้นเรื่อยๆ บทเรียนนี้เป็นบทเรียนที่น่าสนุกมาก พอเขาทำได้ไม่ว่าเราจะไปที่ไหนเราก็สามารถชี้นู้นนี่ให้เขามองแล้วเริ่มบทสนทนาต่างได้อย่างเหมาะสม


วิธีรักษาโรคออทิสซึ่ม
ของเล่นสำหรับเด็กออทิสติก
กดชอบที่ Facebook เพื่อข้อมูลเพิ่มเติมและ ABA รายสัปดาห์
ความเป็นมาของผู้เขียน

Saturday, March 12, 2016

วิธีสอนให้ชี้นิ้ว ใช้วิธี ABA(Applied Behavior Analysis)

การชี้นิ้วเป็นปัญหาหนึ่งของเด็กออทิสติก เพราะการชี้นิ้วเป็นการสื่อสารอีกทางหนึ่ง ซึ่งความบกพร่องของการสื่อสารนั่นแหละเป็นสิ่งที่พวกเขาไม่ยังไม่เข้าใจ เมื่อเด็กต้องการอะไร เขามักจะจับมือผู้ปกครองไปจับสิ่งที่เขาต้องการ หรืออาจจะแบมือแล้วส่ายไปมาแทนที่จะชี้ไปในสิ่งที่เขาต้องการ
การชี้นิ้วมันฟังดูเหมือนง่ายแต่ไม่อยากให้ผู้สอนมองข้ามเป็นเด็ดขาด เพราะมันเป็นพื้นฐานของการสื่อสารที่สำคัญที่จะทำให้เขาเข้าถึงการสื่อสารในรูปแบบต่างๆได้ในอนาคต

อุปกรณ์
1. รูปภาพ                
2. ห้องว่างๆที่มีสิ่งเร้าน้อยที่สุด

วิธีการสอน
1. วางรูปไว้ด้านหน้าผู้เรียน หรือยกขึ้นระดับสายตาของผู้เรียน เช่น รูปแอปเปิ้ล
2. ตั้งคำสั่ง อาจใช้คำสั่งว่า "ชี้แอปเปิ้ล"
3. ทันทีที่พูดคำสั่งเสร็จ ให้จับมือผู้เรียนในท่าชี้ แล้วชี้ไปที่รูปแอปเปิ้ล
4. ให้รางวัล

ทำอย่างนี้สัก5ครั้งแล้วค่อยๆลดตัวช่วยลง โดยอาจจะ จับมือผู้เรียนในท่าชี้ แล้วให้เขาชี้ด้วยตัวของเขาเอง, แตะที่มือเพื่อเป็นสัญลักษณ์บอกให้เขาชี้, และ ไม่มีตัวช่วย ให้เขาชี้ไปที่รูปด้วยตัวของเขาเอง

เมื่อเขาทำได้แล้วให้เพิ่มตัวเลือกให้มากขึ้น โดยใช้กระดาษเปล่าขนาดเท่ากันวาง ให้เด็กชี้รูปที่ถูกต้องตามคำสั่ง แล้วค่อยๆเพิ่มตัวเลือกให้มากขึ้น และลองใช้คำสั่งที่หลากหลาย เช่น ชี้ไปที่รูปแอปเปิ้ล, แอปเปิ้ลอยู่ไหน

**เมื่อผู้สอนสามารถมั่นใจได้แล้วว่าเด็กสามารถชี้ไปในสิ่งที่เขาต้องการได้ในระยะใกล้ ให้ลองวางสิ่งของในระยะที่ไกลหน่อยแล้วลองให้เขาชี้โดยที่ยืนอยู่กับที่ เมื่อเขาทำได้ให้เพิ่มระยะห่างของสิ่งของให้ไกลขึ้นๆทีละนิด



วิธีรักษาโรคออทิสซึ่ม
ของเล่นสำหรับเด็กออทิสติก
กดชอบที่ Facebook เพื่อข้อมูลเพิ่มเติมและ ABA รายสัปดาห์
ความเป็นมาของผู้เขียน


Tuesday, January 12, 2016

floor time (ขั้นต้น)

ฉันเคยได้ยินคำว่า floor time มาหลายต่อหลายครั้ง โดยเฉพาะที่ประเทศไทย เขามักจะใช้คำนี้เพื่อบอกให้ผู้ปกครองหันมามีเวลาเล่นกับลูก แต่จริงๆแล้ว floor time มันมีอะไรทีมากไปกว่านั้น มันเป็นการเล่นกับเด็กโดยที่ในเวลาเดียวกันเราใส่การสอนให้เด็กมีการเตรียมพร้อมกับการเข้าร่วมสังคมอย่างถูกต้อง และยังช่วยให้เด็กเรียนรู้เรื่องภาษาได้ง่ายขึ้นเพราะเด็กได้เรียนรู้ภาษาผ่านสิ่งที่เขาสนใจ
ฉันใช้วิธีนี้ในช่วงแรกๆที่ฉันพอจะมีเริ่มรู้ว่าเขาช้าในเรื่องของภาษา ฉันไม่เคยบันทึกการ floor time กับลูกของฉันเลย มันทำให้ฉันลืมนึกถึงมันจนวันก่อนเก็บบ้านแล้วเจอหนังสือที่เคยอ่านไว้ ฉันคิดว่าวิธีขั้นต้นนี้เหมาะกับเด็กเล็ก เพราะมันเน้นการเล่นเป็นหลัก แต่มันก็ไม่ได้หมายความว่าไม่สามารถใช้ได้กับเด็กโต ฉันคิดว่าลักษณะนิสัยของเด็กโตหรือว่าผู้ใหญ่บางคนยังเป็นเหมือนเด็ก พวกเขาอาจจะต้องใช้วิธีนี้เพื่อเริ่มต้นแล้วค่อยๆให้เขาเรียนรู้เพิ่มเติมจนกระทั่งถึงจุดที่เขาเข้าใจว่า สิ่งไหนที่เหมาะกับตัวเขา
floor time ขั้นต้นนี้ จะเน้นเสริมสร้างทักษะการมองหน้า การมีส่วนร่วม และเข้าใจภาษา ไม่จำเป็นต้องทำตามลำดับ แต่ไม่ควรมองข้าม
1.แปะมือ/ไฮไฟว์
ยกมือขึ้นข้างหน้าแล้วบอก "แปะมือ!" ถ้าเขาไม่แปะมือตอบหลังจากที่ถามสัก 2-3ครั้ง ให้หันไปที่คนข้างๆ(ถ้ามีอีกคนอยู่ด้วย)เพื่อเป็นตัวอย่าง "แปะมือ! เย้"
ถ้าไม่มีคนอื่นช่วยเป็นตัวอย่าง ให้ใช้อีกมือจับที่มือของเด็กมาแปะที่มือของผู้สอน
- ช่วยเรียกร้องความสนใจของเด็ก ทำให้เด็กเริ่มมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่อๆไป

2. อยู่ไหน
ใช้ผ้าคลุมหัวเด็กแล้วบอก "อยู่ไหน อยู่ไหน (ชื่อเด็ก)" ทำท่าทางเหมือนมองหา พอเขามีท่าทางดึงผ้าออก ให้ผู้สอนมองไปที่หน้าเด็กแล้วบอก "จ๊ะเอ๋"
ถ้าเขาไม่ดึงผ้าออกก็ย้ำ "อยู่ไหน อยู่ไหน (ชื่อเด็ก)" สัก2-3ครั้ง ถ้าเขายังไม่ดึงผ้าออก ให้ดึงผ้าออกให้เด็ก "จ๊ะเอ๋"
ถ้าเด็กเริ่มที่จะเล่นด้วย ให้ลองคลุมหัวผู้สอนแล้วเล่นแบบเดียวกัน
- ช่วยให้เด็กมีส่วนร่วมกับกิจกรรม มีสายตามองคนที่เล่นด้วยและสนุกกับการเล่น

3. ลูกบอลอยู่ไหน
ใช้ลูกบอลลูกเล็กๆ ใส่เข้าไปในเสื้อของเด็ก ใส่ประมาณที่หน้าท้องของเขา ให้ผู้สอน แบมือแล้วอาจจะบอก "โอ๊ะ ลูกบอลไปไหน" ขณะที่พูดให้มองหน้าเด็กตลอด ถ้าเขาไม่สนใจ ให้จับไปที่ท้องของเขาในจุดที่มีลูกบอลอยู่แล้วย้ำคำพูด "ลูกบอลไปไหน" ถ้าเขามีท่าทีกระตือรือร้นที่จะเอาลูกบอลออกจากเสื้อ อาจจะบอกเขาว่า "อยู่นี่"
ถ้าเขาเริ่มสนใจลูกบอล ให้หยิบลูกบอลออกจากเขาแล้วยกขึ้นที่ระดับสายตาของผู้สอน เพื่อให้เขาสบสายตาแล้วอาจจะบอกว่า "ลูกบอล" แล้วเล่นใส่เสื้อเขาอีก
ถ้าเขาเริ่มสนใจมากขึ้น ให้เขาลูกบอลใส่เสื้อผู้สอน แล้วทำเช่นเดียวกัน ให้เขาเป็นคนหา โดยที่ไกด์เขาให้เขารู้ว่าลูกบอลอยู่ที่ไหน
- ช่วยให้เด็กมีส่วนร่วมกับกิจกรรม มีสมาธิมุ่งไปที่สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีสายตามองคนที่เล่นด้วยและสนุกกับการเล่น 

4. หมู 5ตัว
จับที่นิ้วเท้าของเขาเริ่มจากนิ้วที่ใหญ่สุด แล้วพูดบทความ "หมูตัวนี้ไปตลาด"
*ทุกครั้งที่พูด ให้ผู้สอนสบตากับเด็กตลอด 
จับนิ้วเท้าถัดมา "หมูตัวนี้อยู่บ้าน"
จับนิ้วเท้าถัดมา "หมูตัวนี้กินเนื้อย่าง"
จับนิ้วเท้าถัดมา "หมูตัวนี้ไม่ได้กิน"
จับนิ้วเท้าสุดท้าย "หมูตัวนี้ร้องไห้ ฮือ ฮือ ฮือ"
ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางไต่ขาเด็กขึ้นไปจนถึงท้องแล้วจักจี้ บางทีอาจจะไต่ขึ้นจนถึงจมูกเพื่อให้เขามองที่หน้าเรา ขณะที่ทำให้พูดบทความตอนจบ "แล้ววิ่งกลับบ้าน..........."
*ถ้าเขาสนใจ โดยหัวเราะและมองหน้า ผู้สอนสามารถเล่นต่อเพื่อดึงความสนใจให้นานขึ้นโดย จับที่นิ้วเท้าอีกครั้งแล้วแกล้วทำเป็นหยิบนิ้วเท้ากิน อาจจะพูด "ง้ำ ๆๆๆ อร่อยจังเลย กินด้วยกันมั้ย?" ทำท่าว่าหยิบนิ้วเท้าแล้วยื่นให้ที่ปากเขา ย้ำสักสองสามครั้ง 
- ช่วยให้เด็กมีส่วนร่วมกับกิจกรรม มีสมาธิมุ่งไปที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นานขึ้น มีสายตามองคนที่เล่นด้วยและสนุกกับการเล่น

5. ไขลาน
ใช้ตุ๊กตาไขลาน ไขให้เด็กดูแล้วอาจจะพูด "ว้าว ดูๆ" เพื่อให้เด็กสนใจที่ตุ๊กตาไขลาน ทำท่าทางตื่นเต้นขณะที่ตุ๊กตาขยับ เช่น ปรบมือ พูด"อู้ ว้าว" พอตุ๊กตาไขลานหยุด ให้บอกเด็ก "เอาอีกๆ" หันไปมองหน้าเด็กแล้วถาม "เอาอีกมั้ย?" แล้วไขลานตุ๊กตาอีกที
ถ้าเด็กเอื้อมมือหยิบตุ๊กตาไขลาน ให้ผู้สอนแบมือแล้วถาม "ช่วยมั้ย?" ถ้าเขาไม่ยื่นตุ๊กตาไขลานให้ ให้ใช้อีกมือเอื้อมจับมือที่เขามีตุ๊กตาไขลานให้ผู้สอน เมื่อรับตุ๊กตาไขลานมาให้ไขลานทันที แล้วพยายามดึงดูดความสนใจอีกที ถ้าเด็กไม่มองหรือไม่สนใจ ให้ผู้สอนหยิบตุ๊กไขลานขึ้นแล้วถือที่ตรงหน้าของผู้สอนแล้วถาม "เอาอีกมั้ย?"
ถ้าเขายังไม่สนใจ ให้ทำเหมือนตุ๊กตาไขลานเป็นเรื่องใหญ๋โต เช่น "โอโห มันเดินใหญ่เลย" "ว้าว สุดยอดไปเลย มาดูเร็ว"
ถ้าเขาไม่สนใจเลย ให้พักสักพัก แล้วลองอีกที ให้เขานั่งบนเก้าอี้ หรือบนเก้าอี้ที่มีสายขาดเข็มขัด ให้เขามีโอกาสเดินหนีให้น้อยที่สุด
- ช่วยให้เด็กมีส่วนร่วมกับกิจกรรม มีสมาธิมุ่งไปที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นานขึ้น มีความเรียกร้องในสิ่งที่ต้องการ มีสายตามองคนที่เล่นด้วยและสนุกกับการเล่น

6. หนึ่ง สอง สาม กระโดด
ชวนเด็กให้เล่นโดยบอก "เล่นกระโดดกัน" บอก "หนึ่ง สอง สาม กระโดด"แล้วทำท่ากระโดด ให้เด็กดู ชวนเด็กให้กระโดดด้วย
สำหรับเด็กเล็กอาจจะอุ้มตัวขึ้นเมื่อพูดคำว่า "กระโดด" หรืออาจจะพูดคำว่า "ขึ้นสูง"
สำหรับเด็กโตถ้าเขาไม่กระโดด ให้หันหน้าเข้าหาเขาแล้วจับมือเขาทั้งสองมือกระโดดไปพร้อมกัน ถ้าเด็กไม่มองหน้าผู้สอนขณะเล่น ผู้สอนอาจจะลงไปนั่งยันเข่า แล้วขยับขึ้นลงเหมือนกระโดดอยู่กับที่
อย่าลืมว่าตอนนับให้นับอย่างช้าๆเพื่อให้เด็กได้มีโอกาสนับเอง ทำเสียงตื่นเต้น และมองที่หน้าเด็ก
-  ช่วยให้เด็กมีส่วนร่วมกับกิจกรรม มีสมาธิมุ่งไปที่สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีสายตามองคนที่เล่นด้วยและสนุกกับการเล่น

7. เดินขบวน
เมื่อเด็กลุกเดินไปมา ให้ผู้สอนวิ่งไปเดินข้างหน้าเด็กแล้วเริ่มพูดบทความ
"เดินขบวน เดินขบวน
เดินขบวน เดินขบวน" ขณะพูดให้ผู้สอนเดินเหมือนเดินพาเหรด โดยยกเท้าสูง หรืออาจจะเสริม "ซ้าย ขวา ซ้าย"
"กระโดด กระโดด
กระโดด กระโดด" ขณะพูดให้ผู้สอนกระโดดไปข้างหน้า
"วิ่ง วิ่ง วิ่ง
วิ่ง วิ่ง วิ่ง" ขณะพูดให้ผู้สอนวิ่งเล็กน้อยไปข้างหน้า
"ถึงตอนนี้......ต้อง..หยุด" ขณะพูดให้ผู้สอนหยุดอยู่กับที่
- ช่วยให้เด็กมีส่วนร่วมกับกิจกรรม ให้เข้าใจถึงคำว่า "หยุด"และคำกิริยาตัวอื่นเช่น วิ่งและกระโดด มีสมาธิมุ่งไปที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นานขึ้น และสนุกกับการเล่น

8. เดินรอบดอกไม้
ชวนเด็กให้เล่นโดยบอก "มาเดินรอบดอกไม้กัน" จับมือเด็กทั้งสองข้างแล้วพูด "เอาละน้า เริ่ม" แล้วเริ่มพูดบทความ
"เดินรอบๆดอกไม้ เก็บดอกไม้เต็มกระเป๋า เหยียบ เหยียบ เหยียบ พวกเรา...ล้ม..ลง" ขณะพูดให้เดินกับเด็กเป็นวงกลมและจำมือเด็กตลอดเวลา พอถึงท่อนสุดท้ายให้แกล้งล้มลงนั่งหรือนอนกลับพื้น รอบแรกๆอาจจะต้องดึงมือเด็กเล็กน้อยให้ล้มลงด้วยกัน ถ้าเด็กยังไม่ตอบสนองให้ปล่อยมือแล้วจับที่ตัวเด็กแล้วเอนตัวเด็กล้มลงเบาๆ
- ช่วยให้เด็กมีส่วนร่วมกับกิจกรรม มีสมาธิมุ่งไปที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นานขึ้น ช่วยให้เด็กได้มีการเริ่มรู้จักการรอคอยเพราะเด็กส่วนมากชอบเล่นล้มลงกับพื้น มีสายตามองคนที่เล่นด้วยและสนุกกับการเล่น

9. หลับฝันดี
แนะนำให้ใช้ตุ๊กตาที่สามารถเปิดและปิดตาได้ (ผู้สอนสามารถทำได้เองไม่ต้องใช้ตุ๊กตา เพียงแต่ตอนหลับตาผู้สอนอาจจะไม่รู้ว่าเด็กยังมองอยู่หรือเปล่า) จับตุ๊กตานั่งหรือยืนแล้วมองที่เด็ก
แล้วอาจจะบอก "ชู่......" ผู้สอนทำท่าเอานิ้วไว้ที่ริมฝีปาก
"เวลานอนใช่มั้ย" ทำท่าหาวนอน
"หลับฝันดี" จับตุ๊กตา นอนลง
"ชู่......." ทำท่าเอานิ้วไว้ที่ริมฝีปาก
"หลับฝันดี" นิ่งสัก 3-4วินาที
"หนึ่ง สอง สาม...." ยกนิ้วขึ้นนับ
"ตื่น ตื่น ตื่นได้แล้ว" พูดเสียงดังแล้วจับตุ๊กตาลุกขึ้นเหมือนตกใจตื่น
- ช่วยให้เด็กมีส่วนร่วมกับกิจกรรม มีสมาธิมุ่งไปที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นานขึ้น ช่วยให้เด็กเริ่มรู้จักการรอคอย ให้เขาเข้าใจถึงเวลานอนและเวลาตื่น เริ่มให้เขามีการสังเกตุและปฏิบัติตาม มีสายตามองคนที่เล่นด้วยและสนุกกับการเล่น

10. แม่ช้าง ลูกช้าง
เมื่อเห็นเด็กวิ่งหรือเดินรอบๆห้อง ผู้สอนสามารถเข้าร่วมกิจกรรมกับเด็กได้โดยอาจจะพูด
"แม่ช้างมาแล้ว.." ใช้มือทำท่าเหมือนงวงช้างวางไปที่หน้าจมูกของผู้สอน
"แม่ช้างมาแล้ว.." ย้ำแล้ววิ่งหรือเดินมุ่งไปหาเด็ก
"ลูกช้างอยู่ไหนน้า...." "ลูกช้างอยู่ไหน?" ทำท่ามองหา
"อยู่นี่ไง ลูกช้าง" ชี้ไปที่เด็ก
"ลูกช้างอยากจะเล่นกับแม่ช้างมั้ย?" อุ้มเด็กขึ้นแล้ว โยกไปมาเหมือนเล่นชิงช้า อาจจะพูด "วี ว้าว วู้.." ขณะที่โยก
"ลูกช้างเล่นเสร็จ" หรืออาจจะบอก "ลูกช้างนั่งลง" วางเด็กลงแล้วอาจจะปรบมือ "เย้"
- ช่วยให้เด็กมีส่วนร่วมกับกิจกรรม ช่วยให้เด็กเริ่มมีการตอบสนองเพราะเด็กส่วนมากชอบที่จะโยกไปมาเหมือนเล่นชิงช้า ช่วยริเริ่มให้เขามีการสังเกตุว่าช้างมีจมูกยาว ให้เขาเริ่มมีความเข้าใจว่าเมื่อเล่นเสร็จทุกอย่างจะหยุดนิ่งและเขาก็ควรจะนิ่งด้วย มีสายตามองคนที่เล่นด้วยและสนุกกับการเล่น


วิธีรักษาโรคออทิสซึ่ม
ของเล่นสำหรับเด็กออทิสติก
กดชอบที่ Facebook เพื่อข้อมูลเพิ่มเติมและ ABA รายสัปดาห์
ความเป็นมาของผู้เขียน