ต้องขอขอบคุณทุกๆคำถามคะ ทำให้คิดได้ว่าลืมอะไรที่สำคัญมากไปอย่างหนึ่ง เป็นวิธีที่จำเป็นต้องทำ ทำจนลืมไปแล้วคะว่ามันเป็นส่วนหนึ่งของการบำบัด
"ทำไมลูกไม่อยากเล่นกับคุณแม่คะ" "ทำไมบอกให้เขานั่งแล้วเขาเดินหนี" "เขาทำเหมือนไม่ได้ยินคุณแม่เรียกคะ" เรามาลองคิดกันอย่างนี้นะคะ ทุกคนคงเคยทำงานที่ไม่อยากทำ ทำทีไรหัวหน้าหรือครูก็จะคอยติ ติไม่พอให้เรากลับมาทำใหม่อีก ส่งกลับไปก็ยังติว่าอีกครั้ง พอครั้งต่อไปถ้าเรารู้อีกว่าต้องทำงานนี้อีกเจอกับหัวหน้าหรือครูคนเดิมอีก แน่นอนคะว่าพวกเราต้องหาทางหลีกเลี่ยง บางคนถึงกับลาออกจากงาน ยังงัยก็ไม่อยากทำ รู้ว่าทำแล้วต้องเป็นเหมือนเดิม
แล้วถ้าเด็กเป็นตัวเราละคะ แล้วเราเองเป็นหัวหน้าหรือครูของเด็ก เราควรจะทำอย่างไรให้เขาอยากมาทำงานร่วมกับเรา
วิธีนี้ทาง ABA เรียกว่า Pairing มันคือ การใช้เวลาเล่นสนุกกับเด็ก ทำให้เพิ่มความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
กฎข้อห้าม
1. ห้ามบังคับ พยายามไม่พูดคำว่า "ไม่" "หยุด" และน้ำเสียงที่แข็ง
2. ห้ามสั่ง ให้เด็กเป็นคนนำ (แต่หลังจากวิธีนี้จะสามารถนำคำสั่งเข้ามาใช้ร่วม)
3. ห้ามถาม เพราะเด็กอาจจะงง ไม่รู้คำตอบ เขาจะรู้สึกได้ว่าผู้สอนไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่เขาทำ
กฎที่ควรทำ
1. คำชม ผู้สอนควรชมเด็กทุก 5วินาที
2. สะท้อนคำพูด ถ้าเด็กพูดอะไรก็พยายามพูดตาม
3. ทำตาม ผู้สอนพยายามทำตามท่าทางของเด็ก(ถ้ามีโอกาส)
4. อธิบาย ผู้สอนควรอธิบายสิ่งที่ต่างๆที่เกิดขึ้น
5. สนุกสนาน ผู้สอนควรมีท่าทีที่สนุกสนานกับเวลาที่อยู่กับเด็ก
วิธีทำ
ก่อนจะเริ่มผู้สอนต้องรู้ก่อนว่า เด็กชอบเล่นของเล่นและชอบกินอะไรบ้าง (ควรหลีกเลี่ยงของเล่นที่ผู้สอนไม่สามารถมีส่วนร่วมในการเล่นได้ เช่น ไอแพค เกมคอมพิวเตอร์ อ่านหนังสือเอง)
1. เตรียมของเล่น2-3อย่างหรือมากกว่านั้น เตรียมขนม1อย่าง
2. เล่นกับเด็กด้วยน้ำเสียงที่ร่าเริง อาจจะจั๊กจี้เด็ก อุ่มเด็กแล้วเวี่ยงนิดๆ หรือเล่นจ๊ะเอ๋ สำหรับเด็กโตอาจจะ ทักทาย ชมเขา แล้วไกด์เด็กให้มาในจุดที่มีของเล่น (ห้ามผลัก ห้ามดึง ห้ามสั่ง) สามารถใช้ขนมเข้ามาเป็นตัวช่วย โดยการให้ขนมเขาเปล่าๆ(ให้ฟรีไม่ต้องมีสิ่งแลกเปลี่ยน)
- ไกด์ อาจจะทำได้โดยตอนเล่นกับเด็กค่อยๆเดินถอยหลังไปที่จุดที่เราต้องการ หรือให้ขนม1ชิ้นแล้วเดินถือชามขนมไปวางในจุดที่เราต้องการ
3. เล่นของเล่นที่เตรียมไว้กับเด็ก เช่น เล่นต่อจิ๊กซอ ผู้สอนควรเก็บตัวจิ๊กซอไว้กับตัวเอง แล้วยื่นให้เด็กทีละชิ้น (เพื่อให้เด็กรับรู้ถึงการมีส่วนร่วมระหว่างผู้สอนและตัวเด็ก)
****ขณะเล่นอย่าลืม กฎที่ควรทำ
- ถ้าเด็กไม่สนใจของเล่นชิ้นที่นำเสนอ เปลี่ยนของเล่นทันที เปลี่ยนของเล่นไปเรื่อยๆจนกว่าตัวเด็กจะสนใจที่จะเล่น ในที่นี้รวมถึงการเล่นวิ่งไล่จับ จั๊กจี้ หรือการเต้น
4. ทุกๆประมาณ30วินาที ให้ขนมเด็ก ให้ฟรีๆไม่ต้องมีอะไรแลกเปลี่ยน
ทำอย่างนี้ทุกวัน วันละอย่างน้อย10นาที เป็นเวลา2-3อาทิตย์ อาทิตย์ถัดไปเริ่มสอนบทเรียนได้ โดยการใช้วิธีนี้เข้าผสมด้วย เช่น ต้องการสอนให้นั่งนิ่งๆ ไกด์เด็กไปที่เก้าอี้หรือจุดที่ต้องการใช้สอน หรือใช้เวลาเล่นสนุกกับเด็กก่อน แล้วเริ่มสอน ใส่กฎที่ควรทำในการสอนด้วย และอาจจะให้ขนมเด็กทุกๆ30วินาทีหรือมากกว่านั้น
วิธีนี้ทำให้เด็กโอเคที่จะเรียนรู้และรับสิ่งใหม่ๆเข้าไปในตัวเขา อย่าว่าแต่เด็กเลยคะ กับตัวผู้ใหญ่เองก็ได้ผล เพียงแค่เปลี่ยนจากของเล่นที่ชอบเป็นงานที่ชอบ ขนมเป็นเงินเดือนหรือวันหยุด ผู้ใหญ่ทุกคนคงอยากไปทำงานทุกวันแน่ๆเลย
ถ้าไม่เข้าใจอะไร ลองถ่ายวิดีโอตอนเล่นกับเด็กด้วยวิธีนี้แล้วลองส่งมาให้ดูนะคะ จะได้ช่วยดูให้คะ
วิธีรักษาโรคออทิสซึ่ม
ของเล่นสำหรับเด็กออทิสติก
กดชอบที่ Facebook เพื่อข้อมูลเพิ่มเติมและ ABA รายสัปดาห์
ความเป็นมาของผู้เขียน
"ทำไมลูกไม่อยากเล่นกับคุณแม่คะ" "ทำไมบอกให้เขานั่งแล้วเขาเดินหนี" "เขาทำเหมือนไม่ได้ยินคุณแม่เรียกคะ" เรามาลองคิดกันอย่างนี้นะคะ ทุกคนคงเคยทำงานที่ไม่อยากทำ ทำทีไรหัวหน้าหรือครูก็จะคอยติ ติไม่พอให้เรากลับมาทำใหม่อีก ส่งกลับไปก็ยังติว่าอีกครั้ง พอครั้งต่อไปถ้าเรารู้อีกว่าต้องทำงานนี้อีกเจอกับหัวหน้าหรือครูคนเดิมอีก แน่นอนคะว่าพวกเราต้องหาทางหลีกเลี่ยง บางคนถึงกับลาออกจากงาน ยังงัยก็ไม่อยากทำ รู้ว่าทำแล้วต้องเป็นเหมือนเดิม
แล้วถ้าเด็กเป็นตัวเราละคะ แล้วเราเองเป็นหัวหน้าหรือครูของเด็ก เราควรจะทำอย่างไรให้เขาอยากมาทำงานร่วมกับเรา
วิธีนี้ทาง ABA เรียกว่า Pairing มันคือ การใช้เวลาเล่นสนุกกับเด็ก ทำให้เพิ่มความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
กฎข้อห้าม
1. ห้ามบังคับ พยายามไม่พูดคำว่า "ไม่" "หยุด" และน้ำเสียงที่แข็ง
2. ห้ามสั่ง ให้เด็กเป็นคนนำ (แต่หลังจากวิธีนี้จะสามารถนำคำสั่งเข้ามาใช้ร่วม)
3. ห้ามถาม เพราะเด็กอาจจะงง ไม่รู้คำตอบ เขาจะรู้สึกได้ว่าผู้สอนไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่เขาทำ
กฎที่ควรทำ
1. คำชม ผู้สอนควรชมเด็กทุก 5วินาที
2. สะท้อนคำพูด ถ้าเด็กพูดอะไรก็พยายามพูดตาม
3. ทำตาม ผู้สอนพยายามทำตามท่าทางของเด็ก(ถ้ามีโอกาส)
4. อธิบาย ผู้สอนควรอธิบายสิ่งที่ต่างๆที่เกิดขึ้น
5. สนุกสนาน ผู้สอนควรมีท่าทีที่สนุกสนานกับเวลาที่อยู่กับเด็ก
วิธีทำ
ก่อนจะเริ่มผู้สอนต้องรู้ก่อนว่า เด็กชอบเล่นของเล่นและชอบกินอะไรบ้าง (ควรหลีกเลี่ยงของเล่นที่ผู้สอนไม่สามารถมีส่วนร่วมในการเล่นได้ เช่น ไอแพค เกมคอมพิวเตอร์ อ่านหนังสือเอง)
1. เตรียมของเล่น2-3อย่างหรือมากกว่านั้น เตรียมขนม1อย่าง
2. เล่นกับเด็กด้วยน้ำเสียงที่ร่าเริง อาจจะจั๊กจี้เด็ก อุ่มเด็กแล้วเวี่ยงนิดๆ หรือเล่นจ๊ะเอ๋ สำหรับเด็กโตอาจจะ ทักทาย ชมเขา แล้วไกด์เด็กให้มาในจุดที่มีของเล่น (ห้ามผลัก ห้ามดึง ห้ามสั่ง) สามารถใช้ขนมเข้ามาเป็นตัวช่วย โดยการให้ขนมเขาเปล่าๆ(ให้ฟรีไม่ต้องมีสิ่งแลกเปลี่ยน)
- ไกด์ อาจจะทำได้โดยตอนเล่นกับเด็กค่อยๆเดินถอยหลังไปที่จุดที่เราต้องการ หรือให้ขนม1ชิ้นแล้วเดินถือชามขนมไปวางในจุดที่เราต้องการ
3. เล่นของเล่นที่เตรียมไว้กับเด็ก เช่น เล่นต่อจิ๊กซอ ผู้สอนควรเก็บตัวจิ๊กซอไว้กับตัวเอง แล้วยื่นให้เด็กทีละชิ้น (เพื่อให้เด็กรับรู้ถึงการมีส่วนร่วมระหว่างผู้สอนและตัวเด็ก)
****ขณะเล่นอย่าลืม กฎที่ควรทำ
- ถ้าเด็กไม่สนใจของเล่นชิ้นที่นำเสนอ เปลี่ยนของเล่นทันที เปลี่ยนของเล่นไปเรื่อยๆจนกว่าตัวเด็กจะสนใจที่จะเล่น ในที่นี้รวมถึงการเล่นวิ่งไล่จับ จั๊กจี้ หรือการเต้น
4. ทุกๆประมาณ30วินาที ให้ขนมเด็ก ให้ฟรีๆไม่ต้องมีอะไรแลกเปลี่ยน
ทำอย่างนี้ทุกวัน วันละอย่างน้อย10นาที เป็นเวลา2-3อาทิตย์ อาทิตย์ถัดไปเริ่มสอนบทเรียนได้ โดยการใช้วิธีนี้เข้าผสมด้วย เช่น ต้องการสอนให้นั่งนิ่งๆ ไกด์เด็กไปที่เก้าอี้หรือจุดที่ต้องการใช้สอน หรือใช้เวลาเล่นสนุกกับเด็กก่อน แล้วเริ่มสอน ใส่กฎที่ควรทำในการสอนด้วย และอาจจะให้ขนมเด็กทุกๆ30วินาทีหรือมากกว่านั้น
วิธีนี้ทำให้เด็กโอเคที่จะเรียนรู้และรับสิ่งใหม่ๆเข้าไปในตัวเขา อย่าว่าแต่เด็กเลยคะ กับตัวผู้ใหญ่เองก็ได้ผล เพียงแค่เปลี่ยนจากของเล่นที่ชอบเป็นงานที่ชอบ ขนมเป็นเงินเดือนหรือวันหยุด ผู้ใหญ่ทุกคนคงอยากไปทำงานทุกวันแน่ๆเลย
ถ้าไม่เข้าใจอะไร ลองถ่ายวิดีโอตอนเล่นกับเด็กด้วยวิธีนี้แล้วลองส่งมาให้ดูนะคะ จะได้ช่วยดูให้คะ
วิธีรักษาโรคออทิสซึ่ม
ของเล่นสำหรับเด็กออทิสติก
กดชอบที่ Facebook เพื่อข้อมูลเพิ่มเติมและ ABA รายสัปดาห์
ความเป็นมาของผู้เขียน