Monday, May 4, 2015

ออทิสซึ่ม คืออะไร

ออทิสซึ่ม คือบุคลิกที่ยากในการเข้าสังคม ยากในการสื่อสาร และบุคลิกที่มีพฤติกรรมซ้ำๆ อย่างไรก็ตาม อาการและความร้ายแรงของพฤติกรรมเหล่านี้มีหลายรูปแบบภายใน 3กลุ่มที่พูดถึง บางครั้งถ้ารวมทุกอย่างด้วยกันผลลัพธ์อาจทำให้อาการที่ออกมาเล็กน้อยในคนที่เป็นออทิสติกขั้นร้ายแรงบางคน แต่สำหรับบางคนอาจร้ายแรงมาก เพราะการมีพฤติกรรมซ้ำๆและการไม่สามารถการสื่อสารนั้นเป็นอุปสรรค์ในการใช้ชีวิตประจำวัน


ฉันได้ทำการค้นคว้าด้วยตัวของฉันเอง เกี่ยวกับออทิสซึ่ม ค้นพบได้ว่าจริงแล้ว ออทิสซึ่มไม่ไช่เป็นโรคภัยไข้เจ็บ แต่เป็นแค่ชื่อเรียกพฤติกรรมของคนเหล่านี้ ฉันลองคิดกลับไปสมัยเด็กๆ  ฉันมีเพื่อนบางคนที่ติดกัดเล็บ ดูดนิ้วมือ พูดช้า เป็นลมบ้าหมูบ่อย พูดติดอ่าง ขี้เหม่อ ขี้อายไม่ชอบมองหน้าคนพูด หรือพฤติกรรมหลายต่อหลายอย่าง ที่ฉันมองว่าเป็นเรื่องปกติของเด็ก เดี๋ยวโตขึ้นพวกพฤติกรรมพวกนี้ก็จะหายไปเอง แต่ฉันกลับมาลองคิดดู ว่าพวกเราเรียกพฤติกรรมเหล่านี้ว่าอะไร? อืม.....ฉันไม่รู้สิ แต่สมัยนี้พฤติกรรมเหล่านี้เป็นอาการของออทิสซึ่ม ฉันเคยคุยกับแพทย์ที่ประเทศไทย สรุปได้ว่าอาการมีอยู่ 50อาการ ถ้าเด็กมีอาการ 25% หรือมากกว่านั้น ถือว่าเป็นออทิสติก แต่ที่อเมริกาถ้ามี 1 อาการที่ทำให้การเรียนรู้ของเด็กช้าลงนั้นถือว่าเข้าข่ายออทิสซื่ม
แสดงว่าใครจะเรียกลูกเราว่าอย่างไรก็เป็นสิ่งไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่ว่าพฤติกรรมเหล่านั้นจะเป็นอุปสรรค์ในการเรียนรู้และการใช้ชีวิตประจำวันของเขาหรือเปล่า ฉันเชื่อว่าเด็กทุกๆคนมีข้อดีและข้อเสีย แต่ฉันเลือกที่จะมองลูกของฉันแต่เพียงข้อดีแล้วทิ้งข้อเสียลงกระดาษ ข้อเสียในกระดาษเหล่านั้นเป็นเสมือนปมเชือก บางปมซับซ้อนบางปมแค่สกิดก็หลุดออก เมื่อฉันสามารถมองแต่ข้อดีของลูกได้ มุมมองของฉันในการมองเด็กก็เปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน เมื่อเห็นเด็กคนอื่นงอแง ฉันกลับเข้าใจรู้ว่ามันเป็นแค่ส่วนหนึ่งของเด็ก ซึ่งมันเกิดขึ้นได้จากหลายๆสาเหตุ ถ้าเรารู้สาเหตุก็อาจจะแก้ไขได้หรือทำให้เด็กรู้สึกดีขึ้น
การมองเพียงส่วนดีในตัวลูกไม่เพียงแต่ทำให้ตัวฉันเองมองโลกในแง่ดีขึ้น มันทำให้ผู้ปกครองคนอื่นที่มีปัญหากับลูกของเขารู้สึกว่ามันเป็นเรื่องปกติ ไม่จำเป็นต้องหลบๆซ่อนๆทุกครั้งที่เด็กแสดงอาการออกมา แล้วตัวเด็กเองก็จะรับรู้ได้ถึงการยอมรับในสังคม และนั่นเป็นจุดเริ่มต้นในการช่วยให้เด็กกล้าที่จะเข้าร่วมสังคม

วิธีรักษาโรคออทิสซึ่ม
ของเล่นสำหรับเด็กออทิสติก
กดชอบที่ Facebook เพื่อข้อมูลเพิ่มเติมและ ABA รายสัปดาห์

No comments :

Post a Comment