ความสามารถในการระบุอารมณ์เป็นการเตรียมตัวในขั้นพื้นฐานให้เขาพร้อมกับการเรียนรู้ในการระบุอารมณ์ของตัวเขาเองในอนาคต เช่น ในอนาคตฉันอยากให้ลูกสามารถบอกได้ว่าเขารู้สึกอย่างไร เศร้า ดีใจ หรือเจ็บปวดเมื่อตอนไม่สบาย มันเป็นการเตรียมพร้อมให้เขาในอนาคตเพื่อที่อย่างน้อยเขาก็จะสามารถสื่อความรู้สึกที่เขามีออกมาให้คนอื่นๆได้รู้ พร้อมกับให้เขาได้ฝึกการสังเกตุสีหน้าและความรู้สึกของคนอื่นและของตัวเอง
เป้าหมาย
1. ระบุได้ว่าเศร้า
2. ระบุได้ว่าดีใจ หรือ มีความสุข
3. ระบุได้ว่าโมโห หรือ โกรธ
อุปกรณ์
1. โต๊ะและเก้าอี้ หรือ ห้องว่างๆที่ไม่มีสิ่งล้อใจ
2. รูปหน้าคนที่หลากหลายอารมณ์
3. กระจกตั้งโต็ะ
4. รางวัล
วิธีสอน
1. ตั้งคำสั่ง "รู้สึกอย่างไร" คำสั่งที่หลากหลายอาจจะเป็น "เขารู้สึกอย่างไร" "เด็กคนนี้รู้สึกอย่างไร"
2. เมื่อบอกคำสั่งเสร็จให้ชี้ไปที่รูปหรือหยิบรูปขึ้นที่ระดับสายตาของเขา แล้วบอกคำตอบเขาทันที เช่น "ดีใจ"
*ผู้สอนควรจะมั่นใจก่อนว่าผู้เรียนสบตาผู้สอนและมองที่รูปภาพ ถ้าเขายังไม่สามารถสบตาให้ย้อนกลับไปสอนวิธีสอนให้มองหน้า (การย้อนกลับไปสอนในบทเรียนเก่าเป็นสิ่งที่ดี เพื่อให้เขามีพื้นฐานที่มั่นคง)
เป้าหมาย
1. ระบุได้ว่าเศร้า
2. ระบุได้ว่าดีใจ หรือ มีความสุข
3. ระบุได้ว่าโมโห หรือ โกรธ
อุปกรณ์
1. โต๊ะและเก้าอี้ หรือ ห้องว่างๆที่ไม่มีสิ่งล้อใจ
2. รูปหน้าคนที่หลากหลายอารมณ์
3. กระจกตั้งโต็ะ
4. รางวัล
วิธีสอน
1. ตั้งคำสั่ง "รู้สึกอย่างไร" คำสั่งที่หลากหลายอาจจะเป็น "เขารู้สึกอย่างไร" "เด็กคนนี้รู้สึกอย่างไร"
2. เมื่อบอกคำสั่งเสร็จให้ชี้ไปที่รูปหรือหยิบรูปขึ้นที่ระดับสายตาของเขา แล้วบอกคำตอบเขาทันที เช่น "ดีใจ"
*ผู้สอนควรจะมั่นใจก่อนว่าผู้เรียนสบตาผู้สอนและมองที่รูปภาพ ถ้าเขายังไม่สามารถสบตาให้ย้อนกลับไปสอนวิธีสอนให้มองหน้า (การย้อนกลับไปสอนในบทเรียนเก่าเป็นสิ่งที่ดี เพื่อให้เขามีพื้นฐานที่มั่นคง)
3. ใช้รูปดีใจรูปที่สองแล้วทำเหมือนข้อ 2.
4. อธิบายให้เขาฟังว่าทำไมคนนี้ถึงดีใจ เช่น ชี้ไปที่ปากแล้วบอก "เด็กคนนี้ยิ้ม" ยื่นกระจกให้เขาดูหน้าตัวเองแล้วบอกให้เขายิ้ม ถ้าเขายิ้มก็บอกว่าตัวเขาเองกำลังดีใจ อาจจะบอก "ยิ้ม (ชื่อผู้เรียน)รู้สึกดีใจ"
ถ้าเขาไม่ยิ้ม ผู้สอนก็ยิ้มให้เขาดูแล้วจับที่ปากตัวเองแล้วอาจจะพูดว่า "ยิ้ม คุณแม่(หรือชื่อผู้สอน)รู้สึกดีใจ"
4. อธิบายให้เขาฟังว่าทำไมคนนี้ถึงดีใจ เช่น ชี้ไปที่ปากแล้วบอก "เด็กคนนี้ยิ้ม" ยื่นกระจกให้เขาดูหน้าตัวเองแล้วบอกให้เขายิ้ม ถ้าเขายิ้มก็บอกว่าตัวเขาเองกำลังดีใจ อาจจะบอก "ยิ้ม (ชื่อผู้เรียน)รู้สึกดีใจ"
ถ้าเขาไม่ยิ้ม ผู้สอนก็ยิ้มให้เขาดูแล้วจับที่ปากตัวเองแล้วอาจจะพูดว่า "ยิ้ม คุณแม่(หรือชื่อผู้สอน)รู้สึกดีใจ"
5. ลองอีกทีโดยใช้รูปเดิม บอกคำสั่ง หยิบรูปขึ้นที่ระดับสายตาของเขา ชี้ไปที่ปาก(สิ่งที่ผู้สอนให้เหตุผลไปในข้างต้น) แล้วบอกเขาว่า "ดีจ...." ถ้าทำได้ก็ลดตัวช่วย เช่น "ด ....." และไม่มีตัวช่วย
6. ให้รางวัล
พอเขาตอบได้สัก 5-6รูป และสามารถแสดงอารมณ์ได้เอง ก็ให้เปลี่ยนไปเป็นรูปอารมณ์อื่น พอเขาตอบคำถามจากในรูปของผู้สอนได้ ก็ให้ใช้หลายๆโอกาสในการอ่านหนังสือถามเขาเพื่อให้เขาเห็นความหลากหลายจากหลายๆภาพ ผู้สอนอาจจะถามคำถามกลับให้มีความหลากหลาย เช่น คนไหนรู้สึกดีใจ เวลาดีใจทำอย่างไร เป็นต้น
วิธีรักษาโรคออทิสซึ่ม
ของเล่นสำหรับเด็กออทิสติก
กดชอบที่ Facebook เพื่อข้อมูลเพิ่มเติมและ ABA รายสัปดาห์
ความเป็นมาของผู้เขียน
6. ให้รางวัล
พอเขาตอบได้สัก 5-6รูป และสามารถแสดงอารมณ์ได้เอง ก็ให้เปลี่ยนไปเป็นรูปอารมณ์อื่น พอเขาตอบคำถามจากในรูปของผู้สอนได้ ก็ให้ใช้หลายๆโอกาสในการอ่านหนังสือถามเขาเพื่อให้เขาเห็นความหลากหลายจากหลายๆภาพ ผู้สอนอาจจะถามคำถามกลับให้มีความหลากหลาย เช่น คนไหนรู้สึกดีใจ เวลาดีใจทำอย่างไร เป็นต้น
วิธีรักษาโรคออทิสซึ่ม
ของเล่นสำหรับเด็กออทิสติก
กดชอบที่ Facebook เพื่อข้อมูลเพิ่มเติมและ ABA รายสัปดาห์
ความเป็นมาของผู้เขียน
No comments :
Post a Comment