ก่อนที่ฉันจะเริ่มการฝึก ฉันตั้งตั้งเป้าหมายให้เขา แล้วเขียนลงในบันทึก เป้าหมายทุกเป้าหมายที่ฉันตั้ง ฉันจะไม่มีการกำหนดเวลาว่าภายในอาทิตย์นี้ หรือเดือนนี้ต้องทำได้ แต่ฉันจะดูที่ความสามารถของเขามากกว่า เป้าหมายของการให้นั่งนิ่ง คือ เป้าหมาย 1. 20 วินาที
2. 60 วินาที
3. 2 นาที
4. นั่งทำกิจกรรมได้ 5 นาที
5. นั่งทำกิจกรรมได้ 20 นาที
อุปกรณ์
1. นาฬิกาจับเวลา (แบบตัวเลขและปุ่มกดใหญ่ๆยิ่งดี เพื่อให้เด็กสามารถใช้ได้เองในอนาคต)
2. ที่นั่งแบบต่างๆ เช่น เก้าอี้ เบาะนั่ง หรือโซฟา
3. ของรางวัล
วิธีสอน
- ตั้งคำสั่ง คำสั่งต้องเป็นคำที่สั้นและชัดเจน ช่วงแรกฉันใช้คำว่า "นั่งลง" พอเขาทำตามคำสั่งได้สัก 80% ฉันก็ใช้คำสั่งที่หลากหลาย เพื่อให้เขาเข้าใจภาษาในหลายรูปแบบ เช่น นั่งตรงนี้ มานั่งบนเก้าอี้ ไปนั่งอ่านหนังสือกัน
- จับเขามายืนหน้าเก้าอี้ บอกคำสั่ง "นั่งลง" จับที่หัวไหล่หรือแขนของเขาทั้งสองข้าง แล้วกดตัวเขาให้นั่งลงบาเก้าอี้ พอเขาเริ่มเข้าใจคำสั่ง ฉันก็ค่อยๆลดการช่วยลงทีละนิด เช่น ครั้งต่อไปฉันแค่บอกคำสั่ง แล้วจับที่หัวไหล่ พอเขาทำได้ฉันก็ใช้แค่คำสั่ง แต่ถ้าเขาทำไม่ได้ฉันก็ต้องเพิ่มขั้นตอนในการช่วย
- คว้ามือทั้งสองข้างวางลงบนตักของเขาค้างไว้ประมาณ 3-5 วินาที ในกรณีนี้เหมือนกับข้างต้น พอเขาทำได้ก็ค่อยๆลดการช่วยลง เช่น จากค้างไว้ 3-5 วินาที เป็นวางมือบนมือของเขาโดยที่ไม่สัมผัส 3-5 วินาที ครั้งถัดไป เอามือออก แต่นั่งข้างๆเขา แล้วค่อยๆออกห่างทีละนิดๆในครั้งถัดๆไป
- เมื่อนาฬิกาจับเวลาดัง ชมเขาทันทีและแสดงท่าทางภูมิใจในตัวเขา ฉันชมเขาว่า "ว้าว! นั่งลงได้เก่งมากเลย" กอด เขา ปรกมือให้เขา (ควรมีคำที่ใช้สั่งอยู่ในคำชม เพื่อให้เขาเข้าใจถึงสิ่งที่เขาทำอยู่นั้นเป็นสิ่งที่ดี ที่ทำให้ได้คำชม)
- ให้รางวัลทันทีที่ชมเสร็จ
หลังจากเสร็จรอบนึง ส่วนมากฉันจะปล่อยให้เขาทำอะไรก็ได้ตามใจเขา ประมาณสัก 5นาทีแล้วฝึกอีกครั้ง แต่บางครั้งก็ฝึกติดกันเลยไม่มีให้พัก เพราะฉันเห็นว่าเขากำลังสนุกกับการเรียนหรือเขาอยากได้รางวัลอีก แล้วแต่ในกรณี แต่ที่สำคัญ ไม่ควรให้เขาล้าก่อนที่จะหยุดพัก หรือพูดง่ายๆ หยุดพักก่อนที่เขาจะงอแง ถ้าเขางอแงแล้วทำให้การฝึกต้องหยุดลง เขาก็จะงอแงทุกครั้งที่เขาอยากหยุดหรือไม่อยากทำอะไรที่เราให้เขาทำ พอเขาทำได้โดยไม่มีการงอแง ฉันก็เริ่มเพิ่มเวลาให้นานขึ้น จาก 5วินาที ก็เป็น 10 และ 20 ขึ้นไปเรื่อยๆจนถึง 5นาที แต่ถ้าครั้งไหนที่เขาทำไม่ได้ ฉันก็จะลดลงมา5วินาทีหรือมากกว่านั้น ตัวอย่างเช่น เขานั่งเฉยๆไม่ได้ในครั้งที่ฉันจับเวลา30วินาที ครั้งต่อมาไปฉันก็จะจับเวลาที่25วินาที
สำหรับเด็กที่ต้องไปโรงเรียนแล้วยังไม่สามารถนั่งนิ่งได้ ฉันขอแนะนำตัวช่วย เสื้อกักที่มีน้ำหนักท่วง หรือ ผ้าที่มีน้ำหนักวางบนตัก ถ้าเด็กเล็กใช้น้ำหนักประมาณ 1กิโลกรัม เด็กโตประมาณ 2-3 กิโลกรัม ใช้เฉพาะช่วงเวลาที่เขาต้องนั่งทำงาน ฉันบอกกับคุณครูของลูก ทางคุณครูจัดหามาใช้แล้วได้ผลเป็นอย่างดี
การฝึกแบบนี้เรียกว่า พฤติกรรมบำบัด ABA (Applied Behavior Analysis)สิ่งที่สำคัญของการฝึกแบบนี้คือการให้รางวัล เมื่อเขาเริ่มคล่องกับการฝึก ฉันก็จะค่อยๆลดของรางวัลลง แต่จะเพิ่มคำชมให้มากขึ้น ฉันพยายามหาคำชมมาชมเขาให้หลากหลาย เพื่อไม่ให้เขาจำเจ และใช้น้ำเสียงที่หลากหลายเพื่อให้เขาเข้าใจถึงความภาคภูมิใจในตัวเขา
วิธีรักษาโรคออทิสซึ่ม
ของเล่นสำหรับเด็กออทิสติก
กดชอบที่ Facebook เพื่อข้อมูลเพิ่มเติมและ ABA รายสัปดาห์
2. 60 วินาที
3. 2 นาที
4. นั่งทำกิจกรรมได้ 5 นาที
5. นั่งทำกิจกรรมได้ 20 นาที
อุปกรณ์
1. นาฬิกาจับเวลา (แบบตัวเลขและปุ่มกดใหญ่ๆยิ่งดี เพื่อให้เด็กสามารถใช้ได้เองในอนาคต)
2. ที่นั่งแบบต่างๆ เช่น เก้าอี้ เบาะนั่ง หรือโซฟา
3. ของรางวัล
วิธีสอน
- ตั้งคำสั่ง คำสั่งต้องเป็นคำที่สั้นและชัดเจน ช่วงแรกฉันใช้คำว่า "นั่งลง" พอเขาทำตามคำสั่งได้สัก 80% ฉันก็ใช้คำสั่งที่หลากหลาย เพื่อให้เขาเข้าใจภาษาในหลายรูปแบบ เช่น นั่งตรงนี้ มานั่งบนเก้าอี้ ไปนั่งอ่านหนังสือกัน
- จับเขามายืนหน้าเก้าอี้ บอกคำสั่ง "นั่งลง" จับที่หัวไหล่หรือแขนของเขาทั้งสองข้าง แล้วกดตัวเขาให้นั่งลงบาเก้าอี้ พอเขาเริ่มเข้าใจคำสั่ง ฉันก็ค่อยๆลดการช่วยลงทีละนิด เช่น ครั้งต่อไปฉันแค่บอกคำสั่ง แล้วจับที่หัวไหล่ พอเขาทำได้ฉันก็ใช้แค่คำสั่ง แต่ถ้าเขาทำไม่ได้ฉันก็ต้องเพิ่มขั้นตอนในการช่วย
- คว้ามือทั้งสองข้างวางลงบนตักของเขาค้างไว้ประมาณ 3-5 วินาที ในกรณีนี้เหมือนกับข้างต้น พอเขาทำได้ก็ค่อยๆลดการช่วยลง เช่น จากค้างไว้ 3-5 วินาที เป็นวางมือบนมือของเขาโดยที่ไม่สัมผัส 3-5 วินาที ครั้งถัดไป เอามือออก แต่นั่งข้างๆเขา แล้วค่อยๆออกห่างทีละนิดๆในครั้งถัดๆไป
- เมื่อนาฬิกาจับเวลาดัง ชมเขาทันทีและแสดงท่าทางภูมิใจในตัวเขา ฉันชมเขาว่า "ว้าว! นั่งลงได้เก่งมากเลย" กอด เขา ปรกมือให้เขา (ควรมีคำที่ใช้สั่งอยู่ในคำชม เพื่อให้เขาเข้าใจถึงสิ่งที่เขาทำอยู่นั้นเป็นสิ่งที่ดี ที่ทำให้ได้คำชม)
- ให้รางวัลทันทีที่ชมเสร็จ
หลังจากเสร็จรอบนึง ส่วนมากฉันจะปล่อยให้เขาทำอะไรก็ได้ตามใจเขา ประมาณสัก 5นาทีแล้วฝึกอีกครั้ง แต่บางครั้งก็ฝึกติดกันเลยไม่มีให้พัก เพราะฉันเห็นว่าเขากำลังสนุกกับการเรียนหรือเขาอยากได้รางวัลอีก แล้วแต่ในกรณี แต่ที่สำคัญ ไม่ควรให้เขาล้าก่อนที่จะหยุดพัก หรือพูดง่ายๆ หยุดพักก่อนที่เขาจะงอแง ถ้าเขางอแงแล้วทำให้การฝึกต้องหยุดลง เขาก็จะงอแงทุกครั้งที่เขาอยากหยุดหรือไม่อยากทำอะไรที่เราให้เขาทำ พอเขาทำได้โดยไม่มีการงอแง ฉันก็เริ่มเพิ่มเวลาให้นานขึ้น จาก 5วินาที ก็เป็น 10 และ 20 ขึ้นไปเรื่อยๆจนถึง 5นาที แต่ถ้าครั้งไหนที่เขาทำไม่ได้ ฉันก็จะลดลงมา5วินาทีหรือมากกว่านั้น ตัวอย่างเช่น เขานั่งเฉยๆไม่ได้ในครั้งที่ฉันจับเวลา30วินาที ครั้งต่อมาไปฉันก็จะจับเวลาที่25วินาที
สำหรับเด็กที่ต้องไปโรงเรียนแล้วยังไม่สามารถนั่งนิ่งได้ ฉันขอแนะนำตัวช่วย เสื้อกักที่มีน้ำหนักท่วง หรือ ผ้าที่มีน้ำหนักวางบนตัก ถ้าเด็กเล็กใช้น้ำหนักประมาณ 1กิโลกรัม เด็กโตประมาณ 2-3 กิโลกรัม ใช้เฉพาะช่วงเวลาที่เขาต้องนั่งทำงาน ฉันบอกกับคุณครูของลูก ทางคุณครูจัดหามาใช้แล้วได้ผลเป็นอย่างดี
การฝึกแบบนี้เรียกว่า พฤติกรรมบำบัด ABA (Applied Behavior Analysis)สิ่งที่สำคัญของการฝึกแบบนี้คือการให้รางวัล เมื่อเขาเริ่มคล่องกับการฝึก ฉันก็จะค่อยๆลดของรางวัลลง แต่จะเพิ่มคำชมให้มากขึ้น ฉันพยายามหาคำชมมาชมเขาให้หลากหลาย เพื่อไม่ให้เขาจำเจ และใช้น้ำเสียงที่หลากหลายเพื่อให้เขาเข้าใจถึงความภาคภูมิใจในตัวเขา
วิธีรักษาโรคออทิสซึ่ม
ของเล่นสำหรับเด็กออทิสติก
กดชอบที่ Facebook เพื่อข้อมูลเพิ่มเติมและ ABA รายสัปดาห์
No comments:
Post a Comment