Wednesday, May 20, 2015

วิธีจัดการกับพฤติกรรม (Guidelines to Developing Behavior Management Strategies)

พฤติกรรมของลูกเป็นสิ่งที่อธิบายยากมาก ในสถานการ์ณหนึ่งเด็กแต่ละคนก็มีพฤติกรรมแตกต่างกันไป ถ้าเขาทำสิ่งที่เราไม่ต้องการให้ทำ เราก็บอกเขา แล้วเขาก็ทำตามที่เราพูด แต่ถ้าไม่ทำตามที่เราพูด มันก็จะกลายเป็นภาพที่ไม่น่าดู บางทีก็ร้องไห้ กรีด ขว้างของ หรือโขกหัว บางคนก็บอกให้ฉันตี เด็กมันจะได้จำ บางคนก็บอกให้รางวัลเวลาเขาทำดี เขาจะได้เลือกที่จะทำดี หลายต่อหลายอย่าง ไม่รู้จะเลือกทำอะไร กลัวว่าทำไปแล้วผลลัพธ์ที่ออกมาจะเป็นสิ่งที่ไม่ดี วันนี้ฉันเลยอยากแนะนำวิธีการแก้ไขพฤติกรรมตามแบบฉบับของ ABA (Applied Behavior Analysis) ฉันใช้วิธีนี้เป็นเวลา 1ปีเต็ม พฤติกรรมที่กล่าวมาข้างต้นหายไปอย่างไม่รู้ตัว รู้ตัวอีกทีก็ตอนหารูปลูกมาลงเวปแล้วไปเจอข้อมูลที่ตัวเองพิมพ์ไว้

ขั้นตอนที่ 1. เขียนพฤติกรรม
  • ระบุพฤติกรรมที่ต้องการปรับปรุง
  • อธิบายพฤติกรรมให้ละเอียดในรูปแบบของการสำรวจ ตัวอย่างเช่น ระบุพฤติกรรมการโมโห อาจจะเขียนว่า "โมโห ประกอบด้วยอาการ กรีด โขกหัว ร้องไห้ หรือกลั้นหายใจ"
ขั้นตอนที่ 2. สะสมข้อมูล (ทุกพฤติกรรมที่เด็กทำมีเป้าหมาย)
  • สังเกตุการ์ณพฤติกรรมและอธิบายเหตุผลของการกระทำว่าทำไมเด็กถึงทำเช่นนี้
  • จดบันทึกเหตุการ์ณของก่อนพฤติกรรม (อะไรเกิดก่อนพฤติกรรมนี้) พฤติกรรม (สังเกตุการกระทำในพฤติกรรม) และเหตุการ์ณลงท้าย (อะไรเกิดขึ้นหลังจากพฤติกรรม)

    ความน่าจะเป็น มี:
    หลีกเลี่ยง หรือ หนี เช่น จากการทำงาน, จากสถานการ์ณ, หรือจากการกระทำ
    เรียกร้องความสนใจ
    เรียกร้องสิ่งของ เช่น ของกิน, ของเล่น, หรือเล่นเกม
    ความต้องการทางระบบประสาท


หลังจากสะสมข้อมูลข้างต้นเสร้จ ฉันก็มาดูว่าพฤติกรรมนี้เกิดขึ้นบ่อยแค่ไหนโดยการเก็บข้อมูลที่มี 3รูปแบบ รูปแบบ 1. บันทึกความบ่อยครั้ง บันทึกความบ่อยครั้งของพฤติกรรมในช่วงเวลาที่กำหนด วิธีนี้เหมาะสำหรับพฤติกรรมที่มีความแน่นอน เช่น โยนของ ทุบตีสิ่งของ
แบบฟอร์มรูปแบบ 1


        รูปแบบ 2. บันทึกเป็นช่วงเวลา บันทึกความนานของเวลาที่พฤติกรรมนั้นเกิดขึ้น ใช้นาฬิกาจับเวลาเริ่มจับเวลาตั้งแต่พฤติกรรมเริ่มต้นจนจบ วิธีนี้เหมาะสำหรับพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่งๆ เช่น เหม่อลอย
แบบฟอร์มรูปแบบ 2


        รูปแบบ 3. บันทึกช่วงเวลาของพฤติกรรมที่คาดว่าจะเกิดขึ้น บันทึก ใช่/ไม่ ถ้าพฤติกรรมนั้นเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่คาดการ์ณไว้ วิธีนี้เหมาะสำหรับพฤติกรรมที่เกิดขึ้นรุนแรงในช่วงเวลาหนึ่ง เช่น โบกมือไปมา
แบบฟอร์มรูปแบบ 3

เมื่อฉันรู้พฤติกรรมของลูกและความต้องการของพฤติกรรม ฉันก็สามารถหาวิธีมาช่วยให้พฤติกรรมนั้นๆหายไปได้

ขั้นตอนที่ 3. กำหนดวิธีจัดการกับพฤติกรรม
วิธีก่อนพฤติกรรม เป็นการควบคุมสถานการ์ณก่อนที่พฤติกรรมเกิดขึ้น สำหรับปกป้องพฤติกรรมที่จะเกิดขึ้น
วิธีการแก้ไขพฤติกรรมในระยะสั้น โดยใช้พฤติกรรมหรือความสามารถมาแทนที่ และสามารถทดแทนพฤติกรรมที่ท้าทายกลับให้เป็นพฤติกรรมที่เหมาะสม
พฤติกรรมที่แทนทีต้องเป็นสิ่งที่ไม่เกินความสามารถของผู้เรียน ตัวอย่าง



วิธีการแก้ไขพฤติกรรมในระยะยาว โดยใช้ความพอใจหรือการปรับตัวของพฤติกรรม เช่น อะไรที่ผู้เรียนควรจะทำแทนที่จะเผชิญหน้ากับพฤติกรรมที่เป็นปัญหา


จัดสถานการ์ณที่คิดว่าพฤติกรรมที่ท้าทายนั้นอาจจะเกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น รู้ว่าผู้เรียนจะร้องโวยวายเมื่อบอกให้หยุดเล่นคอมพิวเตอร์ ฉันก็ให้เขาเล่นคอมพิวเตอร์แล้วบอกให้เขาหยุด ทันทีที่บอกให้เขาหยุด ฉันก็บอกให้เขาทำกิจกรรมถัดไป หรือให้เขาเล่นเพิ่ม 5นาที แล้วอาจจะใช้คอมพิวเตอร์เป็นของรางวัลในกิจกรรมอื่น 

ถ้าเป็นไปได้ก่อนที่จะจัดสถานการ์ณนั้น ควรจะทราบเสียก่อนว่า พฤติกรรมที่ท้าทายนั้นเกิดขึ้นเพื่ออะไร เช่น ร้องโวยวาย เกิดขึ้นเพื่อ เรียกร้องความสนใจ และต้องการเล่นคอมพิวเตอร์ต่อ ฉะนั้นถ้าพฤติกรรมที่ท้าทายนั้นเกิดขึ้นสิ่งที่เราต้องควรทำคือ ไม่สนใจ(เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น) และไม่ให้เขาเล่นคอมพิวเตอร์ เพราะถ้าให้ในสิ่งที่เขาต้องการในครั้งที่พฤติกรรมที่ท้าทายนั้นเกิดขึ้น ทุกครั้งที่เขาต้องการอะไรแล้วไม่ได้ พฤติกรรมที่ท้าทายนั้นๆก็จะเกิดขึ้น 

วิธีรักษาโรคออทิสซึ่ม
ของเล่นสำหรับเด็กออทิสติก
กดชอบที่ Facebook เพื่อข้อมูลเพิ่มเติมและ ABA รายสัปดาห์





Monday, May 4, 2015

ออทิสซึ่ม คืออะไร

ออทิสซึ่ม คือบุคลิกที่ยากในการเข้าสังคม ยากในการสื่อสาร และบุคลิกที่มีพฤติกรรมซ้ำๆ อย่างไรก็ตาม อาการและความร้ายแรงของพฤติกรรมเหล่านี้มีหลายรูปแบบภายใน 3กลุ่มที่พูดถึง บางครั้งถ้ารวมทุกอย่างด้วยกันผลลัพธ์อาจทำให้อาการที่ออกมาเล็กน้อยในคนที่เป็นออทิสติกขั้นร้ายแรงบางคน แต่สำหรับบางคนอาจร้ายแรงมาก เพราะการมีพฤติกรรมซ้ำๆและการไม่สามารถการสื่อสารนั้นเป็นอุปสรรค์ในการใช้ชีวิตประจำวัน


ฉันได้ทำการค้นคว้าด้วยตัวของฉันเอง เกี่ยวกับออทิสซึ่ม ค้นพบได้ว่าจริงแล้ว ออทิสซึ่มไม่ไช่เป็นโรคภัยไข้เจ็บ แต่เป็นแค่ชื่อเรียกพฤติกรรมของคนเหล่านี้ ฉันลองคิดกลับไปสมัยเด็กๆ  ฉันมีเพื่อนบางคนที่ติดกัดเล็บ ดูดนิ้วมือ พูดช้า เป็นลมบ้าหมูบ่อย พูดติดอ่าง ขี้เหม่อ ขี้อายไม่ชอบมองหน้าคนพูด หรือพฤติกรรมหลายต่อหลายอย่าง ที่ฉันมองว่าเป็นเรื่องปกติของเด็ก เดี๋ยวโตขึ้นพวกพฤติกรรมพวกนี้ก็จะหายไปเอง แต่ฉันกลับมาลองคิดดู ว่าพวกเราเรียกพฤติกรรมเหล่านี้ว่าอะไร? อืม.....ฉันไม่รู้สิ แต่สมัยนี้พฤติกรรมเหล่านี้เป็นอาการของออทิสซึ่ม ฉันเคยคุยกับแพทย์ที่ประเทศไทย สรุปได้ว่าอาการมีอยู่ 50อาการ ถ้าเด็กมีอาการ 25% หรือมากกว่านั้น ถือว่าเป็นออทิสติก แต่ที่อเมริกาถ้ามี 1 อาการที่ทำให้การเรียนรู้ของเด็กช้าลงนั้นถือว่าเข้าข่ายออทิสซื่ม
แสดงว่าใครจะเรียกลูกเราว่าอย่างไรก็เป็นสิ่งไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่ว่าพฤติกรรมเหล่านั้นจะเป็นอุปสรรค์ในการเรียนรู้และการใช้ชีวิตประจำวันของเขาหรือเปล่า ฉันเชื่อว่าเด็กทุกๆคนมีข้อดีและข้อเสีย แต่ฉันเลือกที่จะมองลูกของฉันแต่เพียงข้อดีแล้วทิ้งข้อเสียลงกระดาษ ข้อเสียในกระดาษเหล่านั้นเป็นเสมือนปมเชือก บางปมซับซ้อนบางปมแค่สกิดก็หลุดออก เมื่อฉันสามารถมองแต่ข้อดีของลูกได้ มุมมองของฉันในการมองเด็กก็เปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน เมื่อเห็นเด็กคนอื่นงอแง ฉันกลับเข้าใจรู้ว่ามันเป็นแค่ส่วนหนึ่งของเด็ก ซึ่งมันเกิดขึ้นได้จากหลายๆสาเหตุ ถ้าเรารู้สาเหตุก็อาจจะแก้ไขได้หรือทำให้เด็กรู้สึกดีขึ้น
การมองเพียงส่วนดีในตัวลูกไม่เพียงแต่ทำให้ตัวฉันเองมองโลกในแง่ดีขึ้น มันทำให้ผู้ปกครองคนอื่นที่มีปัญหากับลูกของเขารู้สึกว่ามันเป็นเรื่องปกติ ไม่จำเป็นต้องหลบๆซ่อนๆทุกครั้งที่เด็กแสดงอาการออกมา แล้วตัวเด็กเองก็จะรับรู้ได้ถึงการยอมรับในสังคม และนั่นเป็นจุดเริ่มต้นในการช่วยให้เด็กกล้าที่จะเข้าร่วมสังคม

วิธีรักษาโรคออทิสซึ่ม
ของเล่นสำหรับเด็กออทิสติก
กดชอบที่ Facebook เพื่อข้อมูลเพิ่มเติมและ ABA รายสัปดาห์

Saturday, May 2, 2015

วิธีสอนให้นั่งนิ่ง (ใช้วิธี ABA Applied Behavior Analysis)

ก่อนที่ฉันจะเริ่มการฝึก ฉันตั้งตั้งเป้าหมายให้เขา แล้วเขียนลงในบันทึก เป้าหมายทุกเป้าหมายที่ฉันตั้ง ฉันจะไม่มีการกำหนดเวลาว่าภายในอาทิตย์นี้ หรือเดือนนี้ต้องทำได้ แต่ฉันจะดูที่ความสามารถของเขามากกว่า เป้าหมายของการให้นั่งนิ่ง คือ เป้าหมาย 1. 20 วินาที
                                                                              2. 60 วินาที
                                                                              3. 2 นาที
                                                                              4. นั่งทำกิจกรรมได้ 5 นาที
                                                                              5. นั่งทำกิจกรรมได้ 20 นาที
อุปกรณ์
1. นาฬิกาจับเวลา (แบบตัวเลขและปุ่มกดใหญ่ๆยิ่งดี เพื่อให้เด็กสามารถใช้ได้เองในอนาคต)
2. ที่นั่งแบบต่างๆ เช่น เก้าอี้ เบาะนั่ง หรือโซฟา
3. ของรางวัล
วิธีสอน
- ตั้งคำสั่ง คำสั่งต้องเป็นคำที่สั้นและชัดเจน ช่วงแรกฉันใช้คำว่า "นั่งลง" พอเขาทำตามคำสั่งได้สัก 80% ฉันก็ใช้คำสั่งที่หลากหลาย เพื่อให้เขาเข้าใจภาษาในหลายรูปแบบ เช่น นั่งตรงนี้ มานั่งบนเก้าอี้ ไปนั่งอ่านหนังสือกัน
- จับเขามายืนหน้าเก้าอี้ บอกคำสั่ง "นั่งลง" จับที่หัวไหล่หรือแขนของเขาทั้งสองข้าง แล้วกดตัวเขาให้นั่งลงบาเก้าอี้ พอเขาเริ่มเข้าใจคำสั่ง ฉันก็ค่อยๆลดการช่วยลงทีละนิด เช่น ครั้งต่อไปฉันแค่บอกคำสั่ง แล้วจับที่หัวไหล่ พอเขาทำได้ฉันก็ใช้แค่คำสั่ง แต่ถ้าเขาทำไม่ได้ฉันก็ต้องเพิ่มขั้นตอนในการช่วย
- คว้ามือทั้งสองข้างวางลงบนตักของเขาค้างไว้ประมาณ 3-5 วินาที ในกรณีนี้เหมือนกับข้างต้น พอเขาทำได้ก็ค่อยๆลดการช่วยลง เช่น จากค้างไว้ 3-5 วินาที เป็นวางมือบนมือของเขาโดยที่ไม่สัมผัส 3-5 วินาที ครั้งถัดไป เอามือออก แต่นั่งข้างๆเขา แล้วค่อยๆออกห่างทีละนิดๆในครั้งถัดๆไป
- เมื่อนาฬิกาจับเวลาดัง ชมเขาทันทีและแสดงท่าทางภูมิใจในตัวเขา ฉันชมเขาว่า "ว้าว! นั่งลงได้เก่งมากเลย" กอด เขา ปรกมือให้เขา (ควรมีคำที่ใช้สั่งอยู่ในคำชม เพื่อให้เขาเข้าใจถึงสิ่งที่เขาทำอยู่นั้นเป็นสิ่งที่ดี ที่ทำให้ได้คำชม)
- ให้รางวัลทันทีที่ชมเสร็จ
หลังจากเสร็จรอบนึง ส่วนมากฉันจะปล่อยให้เขาทำอะไรก็ได้ตามใจเขา ประมาณสัก 5นาทีแล้วฝึกอีกครั้ง แต่บางครั้งก็ฝึกติดกันเลยไม่มีให้พัก เพราะฉันเห็นว่าเขากำลังสนุกกับการเรียนหรือเขาอยากได้รางวัลอีก แล้วแต่ในกรณี แต่ที่สำคัญ ไม่ควรให้เขาล้าก่อนที่จะหยุดพัก หรือพูดง่ายๆ หยุดพักก่อนที่เขาจะงอแง ถ้าเขางอแงแล้วทำให้การฝึกต้องหยุดลง เขาก็จะงอแงทุกครั้งที่เขาอยากหยุดหรือไม่อยากทำอะไรที่เราให้เขาทำ พอเขาทำได้โดยไม่มีการงอแง ฉันก็เริ่มเพิ่มเวลาให้นานขึ้น จาก 5วินาที ก็เป็น 10 และ 20 ขึ้นไปเรื่อยๆจนถึง 5นาที แต่ถ้าครั้งไหนที่เขาทำไม่ได้ ฉันก็จะลดลงมา5วินาทีหรือมากกว่านั้น ตัวอย่างเช่น เขานั่งเฉยๆไม่ได้ในครั้งที่ฉันจับเวลา30วินาที ครั้งต่อมาไปฉันก็จะจับเวลาที่25วินาที

สำหรับเด็กที่ต้องไปโรงเรียนแล้วยังไม่สามารถนั่งนิ่งได้ ฉันขอแนะนำตัวช่วย เสื้อกักที่มีน้ำหนักท่วง หรือ ผ้าที่มีน้ำหนักวางบนตัก ถ้าเด็กเล็กใช้น้ำหนักประมาณ 1กิโลกรัม เด็กโตประมาณ 2-3 กิโลกรัม ใช้เฉพาะช่วงเวลาที่เขาต้องนั่งทำงาน ฉันบอกกับคุณครูของลูก ทางคุณครูจัดหามาใช้แล้วได้ผลเป็นอย่างดี

การฝึกแบบนี้เรียกว่า พฤติกรรมบำบัด ABA (Applied Behavior Analysis)สิ่งที่สำคัญของการฝึกแบบนี้คือการให้รางวัล เมื่อเขาเริ่มคล่องกับการฝึก ฉันก็จะค่อยๆลดของรางวัลลง แต่จะเพิ่มคำชมให้มากขึ้น ฉันพยายามหาคำชมมาชมเขาให้หลากหลาย เพื่อไม่ให้เขาจำเจ และใช้น้ำเสียงที่หลากหลายเพื่อให้เขาเข้าใจถึงความภาคภูมิใจในตัวเขา




























วิธีรักษาโรคออทิสซึ่ม
ของเล่นสำหรับเด็กออทิสติก
กดชอบที่ Facebook เพื่อข้อมูลเพิ่มเติมและ ABA รายสัปดาห์